วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10

 ชื่อวิทยานิพนธ์การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10

A Study of Leadership of Secondary School Administrators under theDepartment of General Education in Educational Region 10ชื่อนิสิตสุรพงษ์ ภูโทถ้ำ
Surapong Pootothumชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดร ถวิล ลดาวัลย์อ โกวัฒน์ เทศบุตร
Dr Tawil LaddawanGowat Taesabutชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย
Mahasarakham University. Mahasarakham (Thailand). Graduate School.ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (การบริหารการศึกษา)
Master. Education (Educational Administration)ปีที่จบการศึกษา2537บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำที่เป็นจริงและที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 ซึ่งประกอบด้วย5 ด้านคือ ด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการควบคุม ด้านการตัดสินใจ และด้านปฏิสัมพันธ์อิทธิพล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้บริหารโรงเรียนและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 433 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้ตารางของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ส่วนวิธีการสุ่มใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Unit Sampling) โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นจริง และที่คาดหวัง ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับปรุงมาจากDiagnostic Survey for Leadership Improvement (DSLI) แบบสอบถามเป็นผลงานของ David J. Mullen ซึ่งจัดทำเป็นฉบับภาษาไทย โดย ถวิล ลดาวัลย์ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นจริง รวมทุกด้าน และในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก และมีทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่คาดหวัง รวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายด้านพบว่า ด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ-อิทธิพล อยู่ในระดับมากที่สุดและด้านการตัดสินใจ ด้านการควบคุม อยู่ในระดับมาก 2. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่เป็นจริง รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าภาวะผู้นำที่เป็นจริงด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการตัดสินใจ ด้านการควบคุมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านปฏิสัมพันธ์-อิทธิพล อยู่ในระดับมากที่สุด และภาวะผู้นำที่คาดหวัง ด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสารด้านการควบคุม ด้านปฏิสัมพันธ์-อิทธิพล อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 3. ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่เป็นจริงของผู้บริหารโรงเรียน รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก และที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ภาวะผู้นำที่เป็นจริงแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำที่คาดหวังด้านความเชื่อมั่นและศรัทธาผู้นำ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านปฏิสัมพันธ์-อิทธิพล อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการตัดสินใจ และด้านการควบคุม อยู่ในระดับมาก 4. ภาวะผู้นำที่เป็นจริงของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน โดยส่วนรวมและเป็นรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 โดยผู้บริหารโรงเรียนมีทัศนะอยู่ในระดับสูงกว่าผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน ส่วนภาวะผู้นำที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน รวมทุกด้านและเป็นรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ทั้งผู้บริหารโรงเรียน และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน มีทัศนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สูงกว่าภาวะผู้นำที่เป็นจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 ทั้งเป็นรายด้าน และรวมทุกด้าน จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 10 ที่เป็นจริงและที่คาดหวังยังไม่สอดคล้องกัน ยังมองไม่ตรงกันอยู่หลายด้าน หลายประเด็น สมควรที่ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ตรวจสอบพิจารณาเพื่อปรับปรุงภาวะผู้นำให้เหมาะสมยิ่งขึ้น สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปคือ 1. ควรทำการวิจัยการศึกษาผู้นำที่เป็นจริงและคาดหวังจากประชากรกลุ่มอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในการเป็นผู้ให้ความคิดเห็นในการวิจัยเช่น หัวหน้าหมวดวิชา หัวหน้าฝ่าย ครู-อาจารย์ ฝ่ายปฏิบัติการสอน และฝ่ายสนับสนุนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อจะได้พบว่าในแต่ละกลุ่มประชากรมีความคิดเห็นอย่างไรในการศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. ควรศึกษาตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา เช่น ประสบการณ์ในการศึกษา ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในด้านอื่น ๆบทคัดย่อ(English)The purpose of the study was to compare the secondary schooladministrators' IS and SHOULD BF, of leadership as perceived by secondaryschool administrators and assistant administrators under the Department ofGeneral Education in Educational Region 10. The five content areas to becompared included confidence and trust, communication, control,decision-making, and interaction-influence. The sample under this study wascomposed of 433 secondary school administrators and assistantadministrators. They were chosen by using Krejcie and Morgan's Table. Unitsampling was used and the sample was chosen by using simple random samplingmethod. The instrument used for collecting data was questinnaire. Based onthe Diagnostic Survey for Leadership Improvement (DSLI), David J. Muller's,and Tawil Ladawan's versions, the researcher developed a set of 52statement rating scale questionnaire with reliability of 0.98. The analysisof data was done by mean and standard deviation. And t-test was used totest research hypotheses. The results of the study were as follows : 1. The perception of the secondary school adminstrators and assistantadministrators concerning the IS leadership of the five content areasstudied was rated high. Each of the five content areas was also rated high.The five SHOULD BE areas of leadership were all rated high. For each areastudied, confidence and trust, communication, and interaction-influencewere rated highest ; decision-making and control were rated high. 2. The perception of the secondary school administrators concerningthe IS and SHOULD BE leadership was rated at a high and highest levelrespectively. For each content area studied, IS leadership on confidenceand trust, comminication, decision-making, and control were rated high;interaction-influence was rated highest. As for the SHOULD BE leadership.confifence and trust, communication, control, and interaction-influencewere rated highest; decision-making was rated high. 3. The perception of the secondary school assistant administratorsconcerning the administrators' five IS and SHOULD BE leadership was ratedat a high and highest level respectively. The IS leadership for each areawas rated at a high level ; the SHOULD BE leadership on confidence andtrust, communication, and interaction-influence were rated highest ;dicision-making and control were rated high. 4. There was a significant difference at .01 level between theperception of the secondary school administrators and assistant.administrators concerning IS leadership of the school administrators. Theschool administrators rated the perception of IS leadership at a higherlevel than did the assistant administrators, both as a whole, and in eachaspect. However, there was no significant differnoe concerning the SHOULDBE leadership of the school administrators as perceived by schooladministrators and assistant administrators either as a whole or as aseparate aspect. 5. Both the perception of the secondary school administrators, andthe perception of the assistant administrators concerning theadministrators' SHOULD BE leadership was significantly rated higher thanthe IS leadership at .01 level both as a whole and as a separate areastudied. Since there was a difference between the real (IS) and what wasexpected (SHOULD BE) of the leadership of the secondary schooladministrators under the Department of General Education in EducationalRegion 10, the reasercher suggested that secondary school administratorsand other related authority should reconsider the ways in which leadershipbe reasonably improved.ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์135 P.ISBNสถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์คำสำคัญวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    QR CODE MS TEAM

     QR CODE :  MS TEAM  ของ นางสาวสุทธิรัตน์ คนใหญ่