ชื่อวิทยานิพนธ์ | ประสิทธิผลของโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม :วิจัยกรณีการศึกษาแบบนอกระบบโรงเรียน อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ EFFECTIVENESS OF DISTANCE EDUCATION PROJECT THROUGHTHAICOM SATELLITES : A CASE STUDY ON NON-FORMALEDUCATION AT SANKAMPHAENG DISTRICT, CHIENGMAI |
ชื่อนิสิต | กองทอง วนเกียรติ Kongtong Vanakieat |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | รศ ดร กาญจนา แก้วเทพ Asso Prof Kanjana Kaewthep Ph D |
ชื่อสถาบัน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok. (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นิเทศศาสตร์ (การสื่อสารมวลชน) Master. Arts (Mass Communication) |
ปีที่จบการศึกษา | 2540 |
บทคัดย่อ(ไทย) | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประเมินประสิทธิผลของโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคมในทัศนะของผู้รับสาร โดยได้ดำเนินการวิจัย 4 รูปแบบคือ การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามนักศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 300 คน นักศึกษาที่เรียนทางไกลสองระบบ60 คน และสอบถามครูประจำกลุ่ม 25 คน การวิจัยจากเอกสารการวิจัยแบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารจำนวน 7 คน และการวิจัยแบบสังเกตภายใต้ทฤษฎีความหมายหน้าที่และบทบาทของการสื่อสารต่อการศึกษานอกระบบ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสามารถเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบการศึกษาด้วยความเสมอภาค และเท่าเทียมกันได้ระดับหนึ่ง โดยไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ 2. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสามารถขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน กลุ่มอาชีพใหม่ ๆ บางกลุ่ม ได้เข้ามาศึกษา 3. ด้านประสิทธิภาพการทำงานของผู้ให้บริการส่วนใหญ่ครูยังไม่ได้ใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษา เพราะออกอากาศไม่ตรงเวลา/โทรทัศน์ยังไม่ได้เปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนด้านเนื้อหาในรายการโทรทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ 1 ภาษาอังกฤษและส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าครูสอนทางโทรทัศน์สามารถสอนเสริม/ทดแทนการขาดครูได้แต่วิชาคณิตศาสตร์ไม่ได้เพราะไม่สามารถซักถามได้ 4. คุณภาพของนักศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมส่วนใหญ่เห็นว่าการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมช่วยได้ นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น มีประโยชน์ เป็นการยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากที่สุดแต่อาจมีพื้นความรู้ไม่พอถ้าต้องการใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อ 5. ด้านการบริหารการจัดการพบปัญหา-อุปสรรคด้านการประสานงานการผลิตรายการ ด้านเวลา ด้านบุคลากรด้านเทคนิค และด้านงบประมาณ ในอนาคตน่าจะนำระบบการปฏิรูปการศึกษามาใช้โดยจะกระจายอำนาจการบริหารงานสู่องค์กรท้องถิ่นให้เข้ามาถึงบทบาทด้านการบริหารงานการศึกษา |
บทคัดย่อ(English) | The objective of this research was to evaluatethe effectiveness of distance education project throughThaicom Satellites from the receivers perspectives.Four research methodologies were undertaken : SurveyResearch of students and teachers; DocumentaryResearch; Interviewing ; Observation Research. The results of this research indicated that: 1. Distance education through Thaicom Satellitescould give an equal opportunity to people to accessthem, Regardless of gender, age, career, or income. 2. Distance education through Thaicom Satellitescould extend the educational opportunity for the othervariety groups of careers. 3. Majority of teachers did not use theeducational television program for their teaching dueto the inaccuracy of the schedule. Nevertheless,television programs have not changed yet the learningand teaching method. Regarding to the content ofScience, English, and Life Improvement Subject. Almostall participants agreed the teaching through televisioncould assist them when lacking of teachers, except inMathematics. 4. For the Quality of student, most of Thaicom'sstudents agreed that this educational system could helpto significantly improve their educational quality. Itwas useful to upgrade the education and couldeffectively adopt to use in daily life. However it willnot be enough for pursuing further education. 5. The problems and obstacles were productioncooperation, on-air schedule, personnel, technical andbudget. In the future, education evolution systemshould be brought to expand to local administrativeorganizations in order to play a crucial role inadministrating education system. |
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์ | |
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์ | 202 P. |
ISBN | 974-639-092-9 |
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ | |
คำสำคัญ | THAICOM SATELLITES, THE EFFECTIVENESS, DISTANCEEDUCATION |
วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง |
|
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ประสิทธิผลของโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม :วิจัยกรณีการศึกษาแบบนอกระบบโรงเรียน อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ยฝั่งทะเลตะวันออก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
QR CODE MS TEAM
QR CODE : MS TEAM ของ นางสาวสุทธิรัตน์ คนใหญ่
-
จิรากร เฉลิมดิษฐ, นวรัตน์ วิทยาคม และณมน จีรังสุวรรณ (2561) ความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการศึกษายุค 4.0 . วารสาร...
-
Karunanayaka, S . P . , & Weerakoon, W . M . S . ( 2020 ). Fostering Digital Educationamong Teachers and Learners in Sri Lankan School...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น