ชื่อวิทยานิพนธ์ | รูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี DEVELOPMENT MODEL OF THE INTERNAL QUALITY ASSURANCE OPERATIONS IN BASIC EDUCATION INSTITUTIONS, CHANTHABURI PROVINCE. |
ชื่อนิสิต | ธงไชย บุญเรือง Not Available |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, ค.ด.ธร สุนทรายุทธ, Ph.D.ไพรัตน์ วงษ์นาม, ค.ด. |
ชื่อสถาบัน | มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย Burapha University. Chonburi (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (การบริหารการศึกษา) Not Available |
ปีที่จบการศึกษา | 2547 |
บทคัดย่อ(ไทย) | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบปัญหา และศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 144 คน ครูผู้สอนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 432 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสอบถามปัญหาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัญหาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมจำแนกตามลักษณะของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. รูปแบบการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดจันทบุรี ดังนี้ 3.1 การจัดระบบบริหาร และสารสนเทศ ได้แก่ ให้ความรู้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องกระจายการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย และกำหนดคณะทำงานด้านระบบสารสนเทศ 3.2 การพัฒนามาตรฐานการศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ และเทคนิคการวิเคราะห์มาตรฐานประชุมเชิงปฏิบัติการ และจัดทำเอกสารประกอบมาตรฐาน 3.3 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ระดมความคิดคณะกรรมการประเมินความต้องการจำเป็น กำหนดยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ และประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง 3.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี มอบหมายงาน กระจายอำนาจ ทำงานเป็นทีม สนับสนุน อำนวยความสะดวก และนิเทศติดตาม 3.5 การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษา ได้แก่ อบรมให้ความรู้ และทักษะโดยผู้เชี่ยวชาญ 3.6 การประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ประชุมชี้แจงทุกฝ่าย วางแผนการประเมินอย่างเป็นระบบติดตามการประเมิน และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3.7 การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี ได้แก่ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม กำหนดข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล รูปแบบรายงาน และระดมความคิดหาแนวทางพัฒนา 3.8 การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ ประชุมชี้แจง ระดมความคิด วิเคราะห์ผลหาทางพัฒนา และวางแผนการดำเนินงานต่อไป |
บทคัดย่อ(English) | Not Available |
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์ | |
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์ | 162 P. |
ISBN | 974-970-22-X |
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ | |
คำสำคัญ | รูปแบบการพัฒนา, ระบบการประกันคุณภาพ, ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดจันทบุรี |
วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น