จิรากร เฉลิมดิษฐ, นวรัตน์ วิทยาคม และณมน จีรังสุวรรณ (2561) ความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการศึกษายุค 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2561, หน้า 266 - 279
บทคัดย่อ
การศึกษายุค4.0เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยสามารถศึกษาได้จากแหล่งข้อมูลหรือการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ รวมทั้งสามารถพัฒนาและสร้างนวัตกรรมได้ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีสื่อการเรียนรู้มากมายหลายแบบ สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีซึ่งผสมผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงเข้ากับโลกเสมือนโดยการใช้เทคนิคการซ่อนภาพสามมิติที่สร้างขึ้นให้ไปแสดงผลและสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อที่มีกล่อง เช่น เว็บแคม โทรศัพท์หรือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต โดยสื่อการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถนํามาใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเห็นและเรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองอยากเรียนแล้วนําความรู้ที่ได้มาพัฒนาและสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งทําให้การเรียนรู้มีความท้าทายและน่าสนใจ ปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บทความนี้ครอบคลุมแนวคิดและหลักการทํางานของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม การศึกษายุค 4.0 แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการนํามาใช้ในการศึกษายุค 4.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น